คำถามแรกสุดสำหรับผู้ที่สนใจ VN (ย่อแทน Visual Novel) ที่ต้องตอบในใจก็คือ VN คืออะไรกันแน่? ซึ่งสำหรับผู้เสพงาน VN อาจจะไม่ต้องยึดถือมากนัก แต่กับผู้ที่สนใจและจริงจังกับการลองทำ VN ด้วยตัวเองก็จะมีความจำเป็นมากที่จะแยกแยะ VN ออกจากงานประเภทอื่นก่อน
ลักษณะโดยทั่วไปของ Visual Novel

VN นั้น หากจัดประเภทอย่างเป็นทางการก็จะถูกเรียกว่า Interactive Novel หรือนิยายที่เนื้อหาขึ้นอยู่กับการตอบสนองของผู้เล่น แต่จะว่าอย่างนั้นก็ไม่ถูก เพราะ Interactive Novel ต้นฉบับจากโลกตะวันตกนั้น มีแต่ตัวอักษรล้วน ๆ ไม่มีภาพประกอบ ไม่มีมินิเกม ไม่มีเสียงดนตรีหรืออะไรทั้งนั้น ขณะที่ VN ผสมสื่อหลาย ๆ อย่างลงไปตามที่กล่าวไป หากนึกภาพง่าย ๆ VN ก็คือนิยายผสมกับเกมนั่นเอง
VN เกือบทั้งหมดบนโลกใบนี้ ผลิตขึ้นในญี่ปุ่น ซึ่งก็สอดคล้องกับผู้บริโภคที่ส่วนใหญ่ก็อยู่ประเทศนั้นด้วย เนื่องจากประเทศอื่น ๆ นั้นมีความนิยมใน VN น้อยถึงน้อยมาก ยิ่งไปกว่านั้น เปอร์เซ็นต์ส่วนใหญ่ของ VN คือ Eroge (Erotic Game) หรือแปลเป็นภาษาบ้านเราว่า "เกมโป๊" นั่นเอง
แต่ตัวตนที่แท้จริงของ VN ไม่ใช่เกมโป๊นะ ตัว VN ก็ไม่ต่างอะไรจากนิยายหรือภาพยนตร์ประเภทนึงที่ใช้วิธีนำเสนอที่แตกต่างจากรูปแบบที่เรารู้จักกันโดยทั่วไป หากแต่การตลาดหรือค่านิยมหรืออะไรก็แล้วแต่ในญี่ปุ่น ทำให้บริษัท VN เกือบทั้งหมดใส่เนื้อหาเรท 18+ ลงไปในเกมเหล่านี้

สไตล์ภาพวาดที่ใช้ใน VN นั้นส่วนใหญ่จะเป็น Anime-Style หรือพวกการ์ตูนญี่ปุ่น โดยเฉพาะสาวน้อยตาโตต่าง ๆ
VN เป็นเกมหรือไม่?
ระบบการเล่นของ VN นั้นค่อนข้างแตกต่างจากเกมทั่วไปมาก เพราะเกมโดยทั่วไปให้ความสำคัญกับ Gameplay หรือระบบการเล่นเป็นอันดับแรก ในขณะที่ตัว VN ส่วนใหญ่นั้นมีเพียงแค่คลิกอ่านบทสนทนาและตอบคำตอบเป็นหลักเท่านั้น แม้ว่า VN บางรายจะมีระบบการเล่นที่ซับซ้อนมากขึ้นก็ตามแปลได้ว่า VN ให้ความสำคัญกับเนื้อเรื่องและกราฟฟิกมากกว่าสิ่งอื่นใด แต่หากจะด่วนสรุปไปเลยว่า VN นั้นไม่ใช่เกมก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะมันยังแตกต่างจากนิยายและภาพยนตร์ปกติอยู่มาก หรือการจะแยก VN ให้เป็นสื่อรูปแบบใหม่ไปเลยก็คงจะไม่ใช่เรื่องแปลกนัก
ถามว่า VN ที่ไม่มีการตอบคำถามเลยมีหรือไม่ คำตอบคือมี แต่จะถูกเรียกว่า Kinetic Novel แทน เช่นเรื่อง Narcissu (เกมนี้ฟรีครับ โหลดซับ ENG ได้ สามารถไปเสพเพื่อความซึ้งได้เลย ที่สำคัญคือมันไม่ติดเรท 55+)

Visual Novel ≠ เกมโป๊
จริงหรือที่ VN จะต้องแปลว่าเป็นเกมโป๊ เกมจีบสาว หรืออะไรในทำนองนี้? อย่างน้อยก็มีสองตัวอย่างนี้ล่ะที่ไม่ใช่แน่นอน (คงคุ้นหูคุ้นตากันมาบ้างแหละ)


เกม Phoenix Wright ที่เราจะต้องเล่นเป็นทนายเพื่อต่อสู้คดี กับอีกเกม Higurashi no Naku Koroni ที่เน้นปริศนาและการฆาตกรรม
หลาย ๆ ครั้งที่ VN ไม่ใช่เกมจีบสาว (หรือจีบหนุ่ม) บางเกมอาจจะเน้นสืบสวนสอบสวนด้วยซ้ำ และเกมจีบสาวหรือเกมโป๊หลาย ๆ เกมก็ไม่ใช่ VN ด้วย เช่น Date Sim Game ซึ่งเน้นการจีบสาวแบบตรง ๆ มีการอัพค่าสเตตัสและทำเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้สาวเจ้าหลงรัก หรือบางทีก็ Sex Game ซึ่งไม่ต้องการเนื้อหาอะไรมากมายเลย ทั้งเกมมีแต่ทำอย่างว่าล้วน ๆ (ขอไม่ยกตัวอย่างชื่อละกัน)
การแบ่งประเภทของ VN สามารถทำได้หลายเกณฑ์มาก ไม่ว่าจะแบ่งแบบภาพยนตร์ คือแบ่งตามเรต ไม่ก็แบ่งตามลักษณะตัวละครหลัก (ตัวเอกเป็น ชาย/หญิง และจีบเพศเดียวกันหรือตรงข้าม) แต่ในที่นี้เราจะมาแบ่งตามที่คนญี่ปุ่นเขาแบ่งกัน (ถ้าถามว่าผมเอาข้อมูลมาจากไหน อ๋อผมเอามาจากการ์ตูน จ๊าก)

จากเรื่อง Koe de oshigoto
1. Moe-ge หรือเกมที่เน้นความโมเอะโดยเฉพาะ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือเน้นตัวละครน่ารัก ๆ ถูกใจหมู่โอตาคุนั่นเอง อ่านข้อมูลของคำว่าโมเอะเพิ่มเติมได้ที่นี่ โดยปกติแล้วเกมแนวนี้จะมีฉากแฟนเซอร์วิส หรือฉากวับ ๆ แวม ๆ เอาใจคนเล่น และมักจะเป็นเกมจีบสาวค่อนข้างเต็มตัวด้วย (ฮา)

2. Naki-ge หรือ Crying Game คือเกมที่เน้นการสร้างอิมแพ็ก ให้คนเล่นโศกเศร้า หรือร้องไห้ไปเลย พูดง่าย ๆ คือดราม่านั่นเอง สูตรสำเร็จ (ที่คนเขาบอกมา) คือ 1. เริ่มต้นแนวตลกครึ่งแรก 2. โรแมนติกตรงกลาง 3. โศกนาฏกรรมในช่างครึ่งหลัง ตัวอย่างผลงานแนวนี้หลังหลายก็มาจากค่ายเกม Key นั่นเอง

3. Utsu-ge หรือ Depressing Game คือเกมที่สร้างความหดหู่กดดันให้กับผู้เล่นอย่างรุนแรง เกมประเภทนี้ต่างจาก Nakige ตรงที่ เนื้อหามันจะไร้ความหวังไร้อนาคตสิ้นดี อาจจะมีฉากฆ่าตัวตายหรือฆ่าแกงกันเองเลยทีเดียว


4. Nuki-ge หรือเกมที่เน้นเนื้อหาทางเพศเป็นหลัก อันนี้คงไม่ต้องมีคำอธิบายเพิ่ม แถมปกแต่ละเกมก็ติดเรทอีกตะหาก
VN ของชาติอื่น ๆ
ถึงแม้ว่า VN จากประเทศอื่นนอกเหนือจากญี่ปุ่นนั้นมีน้อยมาก แต่ก็ไม่ได้น้อยอย่างที่เราคิดกัน


อย่างฝั่งตะวันตก ก็จะมีมือสมัครเล่นมากมายที่ลองทำ VN กันขึ้นมาเองตามเว็บแจกจ่ายเอนจิ้นทำเกมฟรีต่าง ๆ เช่นเว็บhttp://games.renpy.org/เป็นต้น
VN ฝั่งตะวันตกนั้น เนื่องจากมีแต่มือสมัครเล่นทำ ดังนั้นตัวเกมเลยค่อยข้างสั้นและภาพไม่ได้มีคุณภาพเท่าของญี่ปุ่น ในขณะเดียวกัน มือสมัครเล่นเหล่านี้ก็กล้าที่จะใช้วิธีนำเสนอที่ต่างจากของญี่ปุ่นค่อนข้างมาก ทำให้เราได้ความรู้สึกเหมือนดูหนังอาร์ตเลยทีเดียว อย่างเช่นเกม Air Pressure นี้ก็มีไม้เด็ดน่าสนใจหลายอย่าง เดี๋ยวจะรีวิว VN ฝั่งตะวันตกซักเกมสองเกมทีหลังละกันน่อ
เรามาดูของฝั่งเอเชียมั่งดีกว่า เริ่มจากของพี่ไทย Re:Angel

ของจีน

ของไต้หวัน

VN จากค่ายในเอเชียเหล่านี้ ผมยังมีข้อมูลไม่ค่อยเยอะเสียด้วย ขนาดในไทยยังมีไม่ถึงหลักสิบเลย 555+
ราคาของ VN
ปกตินั้นราคาของ VN แต่ละเกมนั้นเท่าไหร่กัน? คำตอบอยู่ในลิ้งนี้แล้ว แต่ถ้าเป็นผลงานของมือสมัครเล่น ถ้าของตะวันตกก็ราคาแค่ $6 (ขณะที่ของยุ่น ราคาขายปลีกก็ราว ๆ $100 เลยทีเดียว) ส่วนของไทย ก็มี Studio Gu ที่ให้ราคาไว้ที่ราว ๆ 200 บาทต่อเกม (ถ้าผิดก็ท้วงติงได้นะครับ)
เดี๋ยวต่อไปก็จะลองเขียนเรื่องต้นทุนต่อ หุหุ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น