วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การใช้ Adobe Flash เบื้องต้น 1

เข้าสู่โปรแกรม Flash 
เราสามารถเรียกใช้งานโปรแกรม Flash ได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
1. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Start
2 เลือกคำสั่ง Program > Macromedia > Macromedia Flash 8
3. จะปรากฏหน้าจอแรกของ Flash 8





หน้าตาและองค์ประกอบของ Flash
หน้าตาและองค์ประกอบของ Flash จะเป็น ดังรูป





แถบคำสั่ง (Menu Bar)
เป็นแถบที่ใช้เก็บรวบรวมคำสั่งทั้งหมดของ Flash โดยใช้หัวข้อแบ่งเป็นกลุ่มและหมวดหมู่ ดังนี้


หมวด

คำอธิบาย
File

Edit

View

Insert

Modify

Text

Control

Window

Help
เป็นเมนูเก็บคำสั่งที่เกี่ยวกับการจัดการกับไฟล์ทั้งหมด เช่น การเปิด, ปิดบันทึกการปิดโปรแกรมการนำไฟล์อื่นเข้ามา และการแปลงไฟล์เพื่อออกไปใช้งาน
เป็นเมนูเก็บคำสั่งที่เกี่ยวกับการแก้ไข การจัดการวัตถุ เช่น Undo, Redo, Cut, Copy, Paste 
ฯลฯ
เป็นเมนูเก็บคำสั่งที่เกี่ยวกับการแสดงการมองวัตถุในรูปแบบต่าง ๆ 

เป็นเมนูเก็บคำสั่งที่เกี่ยวกับการเพิ่มเติมหรือแทรกคำสั่ง เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยในการทำภาพเคลื่อนไหว

เป็นเมนูเก็บคำสั่งที่เกี่ยวกับการทำให้วัตถุมีคุณสมบัติใหม่ ๆ 

เป็นเมนูเก็บคำสั่งที่เกี่ยวกับการจัดการกับตัวอักษร เช่น Font, Size, Style 
ฯลฯ

เป็นเมนูเก็บคำสั่งที่เกี่ยวกับการควบคุมการแสดงของชิ้นงานที่เราสร้างขึ้น เช่น Play, Rewind, Stop, Forward, Backward 
เป็นต้น

เป็นเมนูเก็บคำสั่งที่เกี่ยวกับการแสดงหน้าต่างควบคุมต่าง ๆ

เป็นเมนูเก็บคำสั่งที่เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือ ซึ่งอธิบายการใช้งานโปรแกรม

กล่องเครื่องมือ (Toolbox)


เป็นกล่องสำหรับเก็บอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำงาน
Toolbox จะมีลักษณะเป็นไอคอนรูปภาพ สามารถเรียกใช้งานได้ง่าย
เพียงการ Click mouse ที่ไอคอนคำสั่งที่ต้องการเท่านั้น เราสามารถ
เรียกใช้เครื่องมือนี้ได้โดยใช้คำสั่ง Window Tools


การแบ่งกลุ่ม Toolbox




» กลุ่มคำสั่ง Selection เกี่ยวกับการเลือก
» กลุ่มคำสั่ง Edit เกี่ยวกับการวาดและตกแต่งภาพ
» กลุ่มคำสั่ง View เกี่ยวกับการมองภาพในรูปแบบต่าง ๆ
» กลุ่มคำสั่ง Colors ใช้ในการเลือกสีให้กับเส้นและสีพื้น
» กลุ่มคำสั่ง Options จะแสดงคำสั่งเพิ่มเติมของแต่ละคำสั่งที่เราเลือกใช้งาน


เส้นแบ่งเวลา (Timeline)

Timeline เป็นเครื่องมือหนึ่งใน Flash จะปรากฏทุกครั้งเมื่อเปิดโปรแกรม ใช้สำหรับสร้างและปรับเปลี่ยนรายละเอียดของการเคลื่อนไหว โดยเอาตำแหน่งขององค์ประกอบที่เคลื่อนไหว (เราเรียกองค์ประกอบต่าง ๆ ว่าออบเจ็กต์หรือวัตถุ) มาจัดวางต่อกันทีละภาพในแต่ละช่วงเวลา (เรียกว่าเฟรม : Frame) เพื่อสร้างเป็นภาพเคลื่อนไหว โดยเราจะกำหนดเส้นเวลาให้สามารถเล่นภาพเคลื่อนไหวซ้ำ หรือเล่นแล้วหยุดก็ได้ สำหรับส่วนประกอบหลักของเส้นเวลามีดังนี้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น